อะคริลิค

สาระน่ารู้ : อะคริลิกพลาสติก: คู่แข่งกระจกแก้ว

บุญรักษ์  กาญจนวรวณิชย์
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
         บางคนเรียก อะคริลิกพลาสติก (acrylic plastic) หรือพลาสติกอะคริลิก ขณะที่อีกหลายคนเรียกว่า กระจกอะคริลิก (acrylic glass) หรือเรียกย่อๆ แค่แผ่นอะคริลิก แต่ไม่ว่าจะเรียกชื่อแตกต่างกันอย่างไรก็ตาม ทั้งหมดก็หมายถึงพลาสติกชนิดเดียวกันคือ โพลิเมทิลเมทาไครเลต หรือพีเอ็มเอ็มเอ (poly(methyl methacrylate), PMMA) และสูตรเคมีของพลาสติกชนิดนี้คือ C5H8O2 
โครงสร้างโมเลกุลของอะคริลิกพลาสติกหรือพีเอ็มเอ็มเอ
รู้จักพลาสติกหลายชื่อ         อะคริลิกพลาสติกหรือโพลิเมทิลเมทาไครเลตเป็นเทอร์โมพลาสติกชนิดหนึ่ง มีชื่อทางการค้าหลายชื่อด้วยกัน เช่น Plexiglas, Lucite, Perspex เป็นต้น พลาสติกชนิดนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานหลายอย่าง เช่น กระจกใสบนเครื่องบิน ป้ายโฆษณา กระจกตู้ปลา วัสดุทางการแพทย์ เป็นต้น เนื่องจากวัสดุมีสมบัติโดดเด่นในเรื่องความเหนียว (toughness) ความโปร่งใส (transparent) สามารถขึ้นรูปได้ง่าย และเมื่อผนวกกับการมีความหนาแน่นต่ำซึ่งเป็นสมบัติประจำตัวของวัสดุประเภทพลาสติกแล้ว อะคริลิกพลาสติกจึงเป็นวัสดุชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้แทนแก้วในงานหลายอย่าง
การพัฒนาอะคริลิก         อะคริลิกพลาสติกเป็นพลาสติกที่ได้จากการนำโมโนเมอร์ของเมทิลเมทาไครเลต (methyl methacrylate, MMA) มาทำปฏิกิริยาการเกิดโพลิเมอร์ (polymerization) โดย 2 นักเคมีชาวเยอรมันคือ ฟิททิจ (Fittig) และพอล (Paul) สามารถสังเคราะห์โพลิเมทิลเมทาไครเลตได้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1877 แล้ว แต่การพัฒนาวิธีผลิตให้ได้แผ่นอะคริลิกพลาสติกออกมาต้องรอถึงปี ค.ศ. 1933 เมื่อออทโท เริห์ม (Otto RÖhm) นักเคมีชาวเยอรมันขอจดสิทธิบัตรวิธีผลิตแผ่นพลาสติกใสจากโพลิเมทิลเมทาไครเลตในชื่อทางการค้า Plexiglas  หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1936 จึงมีการผลิตแผ่น Plexiglas ออกจำหน่ายในเชิงพาณิชย์
         ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปัจจุบันสามารถผลิตอะคริลิกพลาสติกได้จากปฏิกิริยาการเกิดโพลิเมอร์หลายแบบ เช่น การเกิดโพลิเมอร์แบบอีมัลชัน (emulsion polymerization) การเกิดโพลิเมอร์แบบบัลก์ (bulk polymerization) เป็นต้น การผลิตอะคริลิกพลาสติกแบบ “แผ่น” มักใช้เทคนิคการเกิดโพลิเมอร์แบบบัลก์ โดยเติมโมโนเมอร์ของเมทิลเมทาไครเลตกับตัวเร่งปฏิกิริยาลงในแม่พิมพ์ (mold) พร้อมกัน
สมบัติที่น่าสนใจของอะคริลิกพลาสติก
1.มีความหนาแน่นประมาณ 1.15-1.19 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
2.มีจุดหลอมเหลวที่อุณหภูมิ 130-140 องศาเซลเซียส และจุดเดือดที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส
3.มีความทนทานต่อการกระแทก (impact strength) สูงกว่าแก้วและโพลิสไตรีน แต่ต่ำกว่าโพลิคาร์บอเนตและพลาสติกวิศวกรรมชนิดอื่น
4.อะคริลิกพลาสติกมีเนื้ออ่อนจึงเกิดรอยขูดขีดได้ง่าย
5.แสงสว่างสามารถส่องผ่านเนื้อพลาสติกได้ถึงร้อยละ 92 และมีการสะท้อนกลับที่ผิวประมาณร้อยละ 4
6.มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมดีกว่าพลาสติกชนิดอื่นเช่น โพลิคาร์บอเนต จึงนิยมใช้อะคริลิกพลาสติกกับงานกลางแจ้งด้วย
7.อะคริลิกพลาสติกไม่ทนทานต่อตัวทำละลายหลายชนิด
การผลิตแผ่นอะคริลิกพลาสติกทำได้ 2 แบบ คือ
1.การผลิตเป็นชุด (Batch cell bulk polymerization) มีขั้นตอนการผลิตดังนี้
1).การผลิตแผ่นพลาสติกจะใช้แม่พิมพ์เป็นแผ่นแก้วหรือแผ่นโลหะผิวเรียบ 2 แผ่นประกบเข้าด้วยกัน โดยขอบนอกแม่พิมพ์มีลักษณะเป็นกรอบหนาที่ยืดหดได้ ทั้งนี้เนื่องจากว่าในระหว่างการเกิดโพลิเมอร์ เมื่อโมโนเมอร์หรือโมเลกุลเล็กหลายตัวมาเชื่อมกันเข้ากลายเป็นโมเลกุลใหญ่จะทำให้ปริมาตรสารลดลง ดังนั้นกรอบแม่พิมพ์จึงต้องหดตัวตามปริมาตรพลาสติกที่เปลี่ยนไป
2).โมโนเมอร์เหลวของเมทิลเมทาไครเลตกับตัวเร่งปฏิกิริยาถูกปล่อยเข้าไปในแม่พิมพ์ บางครั้งอาจเติมพรีโพลิเมอร์ (prepolymer) ของเมทิลเมทาไครเลตเข้าไปด้วย (พรีโพลิเมอร์เป็นโพลิเมอร์น้ำหนักโมเลกุลต่ำ) เพื่อเร่งกระบวนการผลิตให้เร็วขึ้น
3).เมื่อวัตถุดิบเข้าไปเต็มแม่พิมพ์แล้วปิดแม่พิมพ์ให้สนิท จากนั้นอาจมีการให้ความร้อนแก่แม่พิมพ์เพื่อกระตุ้นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เริ่มทำงาน
4).ขณะที่เกิดปฏิกิริยาจะมีการคายความร้อนออกมาจึงต้องระบายความร้อนด้วยการเป่าลม หรือแช่แม่พิมพ์ในน้ำ เพื่อควบคุมการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของของเหลวในแม่พิมพ์ไม่ให้กลายเป็นไอ ซึ่งจะกลายเป็นฟองบนผิวพลาสติกในภายหลัง
5).เมื่อพลาสติกแข็งตัว ผู้ผลิตจะปล่อยให้แผ่นพลาสติกเย็นก่อนจึงถอดออกจากแม่พิมพ์ ทั้งนี้อะคริลิกพลาสติกแผ่นบางจะใช้เวลาในการแข็งตัวนานประมาณ 10-12 ชั่วโมง ขณะที่พลาสติกแผ่นหนาต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะแข็งตัวหลังจากแกะแผ่นพลาสติกออกแล้ว แม่พิมพ์จะถูกทำความสะอาดเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการผลิตชุดใหม่
แม่พิมพ์ผลิตแผ่นอะคริลิกพลาสติกเรียงซ้อนกันหลายชั้น
6).นำแผ่นอะคริลิกพลาสติกไปอบแอนนีล (anneal) ที่อุณหภูมิประมาณ 80 องศาเซลเซียสเป็นเวลาหลายชั่วโมงเพื่อลดความเค้นตกค้าง (residual stress) ในพลาสติกที่อาจทำให้แผ่นพลาสติกบิดงอ หรือเสียรูปร่าง
7).สุดท้ายแผ่นพลาสติกจะถูกตัดแต่งครีบ หรือส่วนที่เกินออก จากนั้นปิดทับแผ่นพลาสติกด้วยกระดาษหรือฟิล์มพลาสติกเพื่อป้องกันสินค้าในระหว่างการขนส่งและการจัดเก็บ
2.การผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous bulk polymerization) มีขั้นตอนคล้ายการผลิตเป็นชุด แต่ใช้เวลาในการผลิตน้อยกว่า และใช้ผลิตแผ่นอะคริลิกพลาสติกขนาดบาง
1) การผลิตแผ่นอะคริลิกพลาสติกแบบนี้ แม่พิมพ์มีลักษณะเป็นสายพานเหล็กกล้าซ้อนกัน 2 ชั้นโดยเว้นช่องห่างกันเล็กน้อยซึ่งระยะห่างระหว่างชั้นแผ่นเหล็กจะเป็นตัวควบคุมความหนาของแผ่นพลาสติก
2) โมโนเมอร์เหลวกับตัวเร่งปฏิกิริยาจะถูกฉีดเข้าไปในช่องว่างระหว่างแผ่นเหล็ก และสายพานเหล็กที่บรรจุสารแล้วจะเลื่อนผ่านชุดอุปกรณ์ให้ความร้อน และระบายความร้อนสลับกันไปเพื่อให้ปฏิกิริยาเคมีเกิดอย่างสมบูรณ์
3) หลังจากพลาสติกถูกนำออกจากแม่พิมพ์ จะถูกนำไปอบแอนนีลเพื่อลดความเค้นตกค้างในแผ่นพลาสติก
4) แผ่นพลาสติกที่ผ่านการอบแล้วจะถูกตัดให้ได้ขนาดตามต้องการ และปิดผิวด้วยกระดาษหรือฟิล์มพลาสติกเพื่อปกป้องกันตัวสินค้าจากการขนย้าย
การประยุกต์ใช้
   
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์อะคริลิกบางชนิดที่อยู่ใกล้ตัวมาก
         ปัจจุบันอะคริลิกพลาสติกถูกประยุกต์ใช้ในงานหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับ อุปกรณ์สำนักงาน อุปกรณ์ในห้องน้ำ สีทาบ้าน ป้ายโฆษณาหรือป้ายชื่อร้าน และอื่นๆ อีกมากมาย แต่มีการใช้งานบางอย่างที่นำจุดเด่นของพลาสติกมาใช้ได้อย่างลงตัว นั่นคือ
  
ภาพปลาที่มองผ่านผนังกระจกบ่อเลี้ยงปลาหนา 8 นิ้วเทียบกับภาพฉลามวาฬที่มองผ่านผนังกระจกอะคริลิกหนา 60 เซนติเมตร (~24 นิ้ว)

         กระจกบ่อเลี้ยงปลา  ตู้ปลาส่วนใหญ่มักจะใช้กระจกแก้ว เช่นเดียวกับในบ่อเลี้ยงปลาขนาดใหญ่อย่างในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่ต้องใช้แผ่นกระจกหนามากเพื่อรองรับแรงดันและน้ำหนักของน้ำปริมาณมหาศาล แต่กระจกแก้วมีข้อด้อยสำคัญอย่างหนึ่งคือ ขนาดแผ่นกระจกที่หนาขึ้น จะมีผลให้แสงส่องผ่านได้น้อยลง ทำให้มองเห็นปลาในบ่อไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ดังนั้นบ่อเลี้ยงปลาขนาดใหญ่สมัยใหม่จึงเปลี่ยนมาใช้แผ่นอะคริลิกพลาสติกแทนกระจกแก้ว เพราะอะคริลิกมีจุดเด่นเหนือกว่ากระจกแก้วหลายอย่าง เช่น
1.น้ำหนักเบากว่า (อะคริลิกพลาสติกมีความหนาแน่นน้อยกว่าแก้วมากกว่าครึ่ง) ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายและติดตั้งได้ง่ายกว่า
 
อุโมงค์จากอะคริลิกพลาสติกที่ผลิตเสร็จ (ซ้าย) อุโมงค์ค์ใต้น้ำในพิพิธภัณฑ์ (ขวา)
2.แสงสว่างสามารถส่องทะลุผ่านอะคริลิกพลาสติกได้มากกว่าแก้ว
3.การเชื่อมต่อแผ่นอะคริลิกพลาสติกสามารถเชื่อมได้ถึงระดับโมเลกุล โดยทาสารเคมีบางชนิด เช่น ไดคลอโรมีเทน (dichloromethane) หรือไตรคลอโรมีเทน (trichloromethane) ลงที่ผิวพลาสติกทำให้พลาสติกอ่อนตัว หรือเหลวก่อนประกบแผ่นอะคริลิกเข้าด้วยกัน วิธีนี้ทำให้พลาสติกสามารถเชื่อมต่อกันได้เป็นเนื้อเดียว และบริเวณรอยต่อจะมีขนาดเล็กมากจนแทบมองไม่เห็น ทำให้ผลงานมีความสวยงามมากกว่า
4.อะคริลิกพลาสติกมีความเป็นฉนวนความร้อนดีกว่าแก้วประมาณร้อยละ 20 จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในด้านพลังงานสำหรับทำความร้อนหรือความเย็นในน้ำได้
ขณะที่จุดด้อยของการใช้อะคริลิกพลาสติกคือ มันมีราคาแพงกว่าแก้ว และเกิดรอยขูดขีดได้ง่ายกว่าแก้ว (แต่สามารถนำอะคริลิกไปเคลือบผิวให้ทนต่อการขูดขีดได้)
แผ่นอะคริลิกพลาสติกใสรองรับความรุนแรงแบบนี้ได้เป็นอย่างดี
         สนามกีฬา อะคริลิกพลาสติกสามารถทนทานต่อการกระแทกได้มากกว่าแก้วหลายเท่า จึงมีการใช้กั้นเป็นผนังโปร่งใสในสนามกีฬาฮ็อกกี้น้ำแข็ง ซึ่งนอกจากแผ่นพลาสติกจะช่วยให้ผู้ชมมองเห็นเกมในสนามได้อย่างชัดเจนแล้ว ยังป้องกันผู้ชมจากลูกฮ็อกกี้ที่อาจปลิวขึ้นมาจากสนาม และป้องกันอุบัติเหตุจากการปะทะกันของนักกีฬาระหว่างการแข่งขัน
         อย่างที่กล่าวในเบื้องต้นว่า อะคริลิกพลาสติกสามารถประยุกต์ใช้กับงานได้ค่อนข้างหลากหลาย แต่สำหรับการประยุกต์ใช้พลาสติกใน 2 ตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างการใช้งานที่น่าสนใจ และหลายคนยังไม่ทราบ จึงได้นำมาเล่าสู่กันฟัง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
http://en.wikipedia.org/wiki/Acrylic_glass
http://www.madehow.com/Volume-2/Acrylic-Plastic.html
http://www.wisegeek.com/what-is-the-difference-between-acrylic-and-glass-aquariums.htm
http://pslc.ws/macrog/kidsmac/pmma.htm
http://en.wikipedia.org/wiki/Okinawa_Churaumi_Aquarium

 
 
Source By
San Diego Plastics, Inc.
2220 McKinley Ave.
National City, CA 91950

Acrylic Facts

Characteristics of the material

Acrylic Plastic
Half the weight of glass
Impact resistant
Unaffected by sun or salt spray
Temperature range of -30 to 160° F for continuous service

Cleaning

Wash with mild soap or detergent, with plenty of lukewarm water, dry with soft cloth or chamois.
Grease, oil or tar can be removed with hexane or kerosene. Solvent residue should be removed by washing immediately.
Do Not Use window cleaning sprays, scouring compounds, acetone, gasoline, benzene, carbon tetrachloride or lacquer thinner.

Masking

When working with the material, leave the paper masking film on the sheet as long as possible. Except for intricate detail work you should remove the masking only when your project is completed.

Working with acrylic plastic sheet

DOKeep masking on as long as possible. Use metal cutting saw blades and drills which are ground for acrylic sheet.
Make sure all tools are sharp.
Use water or drilling oil as a coolant when cutting sheets over 1/8" thick or drilling sheets over 3/16" thick.
Wet the material before cleaning.
DON'TUse saw blades with side-set teeth. Saw teeth ideally should be ground with 0° of rake and be of uniform height and shape.

Cutting Acrylic Plastic Sheet

Cutting with a knife or scriber
Acrylic sheet up to 3/16" thick may be cut by a method similar to that used to cut glass. Use a scribing knife, a metal scriber, an awl, or a utility knife to score the sheet. Draw the scriber several times (7 or 8 times for a 3/16" sheet) along a straight edge held firmly in place. Then clamp the sheet or hold it rigidly under a straight edge with the scribe mark hanging just over the edge of a table. Apply a sharp downward pressure to break the sheet along the scribe line. Scrape the edges to smooth any sharp corners. This method is not recommended for long breaks or thick material.
Cutting with power saws
Special blades are available to cut acrylic. Otherwise use blades designed to cut aluminum or copper. Teeth should be fine, of the same height, evenly spaced, with little or no set.
Table and circular saws
Use hollow ground high speed blades with no set and at least 5 teeth per inch. Carbide tipped blades with a triple chip tooth will give the smoothest cuts. Set the blade height about 1/8" above the height of the material. This will reduce edge chipping.
When using a hand held circular saw, clamp the sheet to the work surface and use a length of 1x3 wood to distribute the clamping pressure and act as a guide for the saw.
Feed the work slowly and smoothly. Lubricate the blade with soap or beeswax to minimize gumming from the masking adhesive. Be sure the saw is up to full speed before beginning the cut. Water cooling the blade is suggested for thicknesses over 1/4", especially if edge cementing will be performed.
Saber saws
Use metal or plastic cutting blades. The blades you use to cut acrylic should never be used for any other material. Cut at high speed and be sure the saw is at full speed before beginning the cut.
Hand saws
Good results are possible, but very difficult. Be sure the acrylic is clamped to prevent flexing. Flexing at the cut may cause cracking.
Routers and shapers
Use single fluted bits for inside circle routing and double fluted bits for edge routing. At the high speeds at which routers operate it is critical to avoid all vibration. Even small vibrations can cause crazing and fractures during routing.

Drilling

For best results, use drill bits designed specifically for acrylic.
Regular twist drills can be used, but need modification to keep the blade from grabbing and fracturing the plastic. Modify the bit by grinding small flats onto both cutting edges, so the bit cuts with a scraping action. If the drill is correctly sharpened and operated at the correct speed, two continuous spiral ribbons will emerge from the hole.

Finishing Acrylic Plastic

Scraping
The first step in getting a finished edge is scraping. The back of a hacksaw blade is perfect for scraping. Simply draw the corner of the square edge of the blade along the edge of the acrylic.
Filing
A 10 to 12 inch smooth cut file is recommended for filing edges and removing tool marks. File only in one direction. Keep the teeth flat on the surface, but let the file slide at an angle to avoid putting grooves in the work.
Sanding
If necessary, start with 120 grit sandpaper, used dry. Then switch to a 220 grit paper, dry. Finish with a 400 grit wet/dry paper, used wet. Grits as fine as 600 may be used. Always use a wooden or rubber sanding block.
When removing scratches be sure to sand an area larger than the scratch. Sand with a circular motion, and use a light touch and plenty of water with wet/dry papers.
Almost any commercial power sander can be used with acrylic. Use light pressure and slower speeds.
Polishing
Final polishing will give acrylic a high luster. Power-driven buffing tools are recommended without exception. Buffing wheels are available as attachments for electric drills.
A good buffing wheel for acrylic consists of layers of 3/16" carbonized felt, or layers of unbleached muslin laid together to form a wheel. Solidly stitched wheels should be avoided.
The wheel should reach a surface speed of at least 1200 feet per minute. Speeds of up to 4000 feet per minute are useful for acrylic.
Acrylic should be polished using a commercial buffing compound of the type used for silver or brass, or you can use a non- silicone car polish that has no cleaning solvents in it.
First, however, tallow should be applied to the wheel as a base for the buffing compound. Just touch the tallow stick to the spinning wheel, and then quickly apply the buffing compound.
To polish, move the piece back and forth across the buffing wheel. Be careful not to apply too much pressure. Keep the work constantly moving to prevent heat buildup.
Never begin polishing at the edge of the sheet. The wheel could easily catch the top edge and throw the piece across the room or at you.

Forming Acrylic Plastic

Acrylic can be heated to make it pliable. It will become rigid again when it cools. Never heat acrylic in a kitchen oven. Explosive fumes can accumulate inside the oven, and ignite.
A strip heater is the best tool to form acrylic. This tool will only form straight line bends. Buy one from your acrylic dealer. The strip heater will heat just the area to be formed.
Heat the sheet until it begins to sag at the bend line. The bend should be made away from the side exposed to the heating element. Sheet thicker than 3/16" should be heated on both sides for a proper bend. Use forming jigs or clamps for best results, and wear heavy cotton gloves when handling heated acrylic.
Forming other than straight line bends will generally require specialized equipment and jigs.

Joining Acrylic Plastic

Solvent cement is recommended for joining acrylic. There are two techniques for solvent cementing, capillary and dip or soak methods.
Capillary cementing
This is the most popular method for joining acrylic. However, this method will not work at all unless the parts to be joined fit together PERFECTLY.
Make sure the parts fit properly. Then join them with masking tape or clamp them in a form to hold them firmly in place. It is important that the joint be in a horizontal plane, or the cement will run out of the joint.
Apply the cement carefully along the entire joint. Apply from the inside of a box-corner joint, and on both sides of a flat joint. A needle-nosed applicator bottle is recommended. The thin cement will flow into the joint through capillary action and form a strong bond. Maximum bond strength will not be reached for 24 to 48 hours.
Soak or dip cementing
This is suggested only for THICK joints.
Viscous cementing
Viscous cements are used for joints that can't be cemented with capillary or soak cementing, either because the joint is difficult to reach or because the parts don't fit properly. Viscous cement is thick and will fill small gaps. It can make strong transparent joints where solvent can't.
You can make your own viscous cement by dissolving chips of clear acrylic sheet in a small amount of solvent.
Apply a small bead of cement to one side of the joint, join the pieces, and tape or clamp in place until cured.
 
webmaster 
 
 
โรงงานแปรรูป อะคริลิค แปรูปอคริลิคแผ่น คุณภาพสูงจากต่างประเทศ, ราคาถูกเพราะเราเป็นโรงงานแปรรูปเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น